วันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2556



โอดิสซีย์





โอดีสซีย์ (อังกฤษ: Odyssey; กรีก: δύσσεια, Odusseia) เป็นบทประพันธ์มหากาพย์กรีกโบราณหนึ่งในสองเรื่องของโฮเมอร์ คาดว่าประพันธ์ขึ้นในราว 800 ปีก่อนคริสตกาล ที่แคว้นไอโอเนีย ดินแดนชายทะเลฝั่งตะวันตกของตุรกีซึ่งอยู่ในอาณัติของกรีก  บทกวีเล่าเรื่องราวต่อจากอีเลียด ว่าด้วยการเดินทางกลับบ้านที่อิธาคาของวีรบุรุษกรีกชื่อ โอดิซูส (หรือยูลิซีส ตามตำนานโรมัน) หลังจากการล่มสลายของทรอย

โอดิซูสใช้เวลาเดินทางกลับบ้านนานถึง 10 ปี หลังจากที่ใช้เวลาไปในศึกเมืองทรอยแล้วถึง 10 ปี ระหว่างเวลาเหล่านั้น เทเลมาคัส บุตรของเขา และ พีเนโลปผู้ภรรยา ต้องต่อสู้กับกลุ่มคนพาลที่พยายามจะขอวิวาห์กับพีเนโลป เพราะต่างคิดว่าโอดิซูสเสียชีวิตแล้ว


บทกวีชุดนี้เป็นรากฐานสำคัญต่องานวรรณกรรมตะวันตกยุคใหม่ เรียกได้ว่าเป็นอันดับสองรองจากอีเลียด มีการศึกษาและแปลออกเป็นภาษาต่างๆ มากมายทั่วโลก เชื่อว่าบทกวีเริ่มแรกประพันธ์ขึ้นในลักษณะวรรณกรรมมุขปาฐะ เพื่อการขับร้องลำนำของเหล่านักดนตรีมากกว่าเพื่อการอ่าน  ใช้ฉันทลักษณ์แบบ dactylic hexameter ประกอบด้วยบทกวีรวม 12,110 บรรทัด




ตัวอย่างสารคดี นิยายเรื่องโอดิสซีย์







*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*


อีเลียด




อีเลียด (กรีก: Ἰλιάς Ilias; อังกฤษ: Iliad) เป็นหนึ่งในสองบทกวีมหากาพย์กรีกโบราณของโฮเมอร์ ซึ่งเล่าเรื่องราวของสงครามเมืองทรอยในช่วงปีที่สิบอันเป็นปีที่สิ้นสุดสงคราม เชื่อกันว่า อีเลียด ถูกแต่งขึ้นในช่วงศตวรรษที่แปดก่อนคริสตกาล  นักวิชาการหลายคนเชื่อว่า บทกวีเรื่องนี้เป็นวรรณกรรมที่เก่าแก่ที่สุดในภาษากรีกโบราณ จึงถือได้ว่าเป็นวรรณกรรมชิ้นแรกของยุโรป  แม้จะมีชื่อผู้ประพันธ์ปรากฏเพียงคนเดียว แต่จากลักษณะของบทกวีที่บอกเล่าสืบต่อกันมาแบบปากเปล่ารุ่นต่อรุ่น จึงมีความเป็นไปได้ว่ามีผู้ประพันธ์มากกว่าหนึ่งคน

เรื่องราวในบทกวีบรรยายถึงเหตุการณ์ในปีที่สิบซึ่งเป็นปีสุดท้ายของเหตุการณ์ที่ชาวกรีกบุกยึดนครอีเลียน หรือเมืองทรอย คำว่า "อีเลียด" หมายถึง "เกี่ยวกับอีเลียน" (ภาษาละตินเรียก อีเลียม (Ilium)) อันเป็นชื่อเรียกส่วนนครหลวง ซึ่งแตกต่างกับ ทรอย (ตุรกี: Truva; กรีก:Τροία, Troía; ละติน: Troia, Troiae) อันหมายถึงนครรัฐที่อยู่ล้อมรอบอีเลียม แต่คำทั้งสองคำนี้มักใช้รวมๆ กันหมายถึงสถานที่แห่งเดียวกัน


ตัวละครหลัก

มหากาพย์ อีเลียด มีตัวละครปรากฏในเรื่องเป็นจำนวนมาก ในที่นี้จะกล่าวถึงตัวละครหลักจำนวนหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญเท่านั้น

ฝ่ายเอเคียน
ชาวเอเคียน (Achaean) หรือที่ปัจจุบันแปลมาเป็น ชาวกรีกบางครั้งก็เรียกว่า ชาว Danaans (Δαναοί : ปรากฏในมหากาพย์ 138 ครั้ง) หรือชาว Argives ('Aργεĩοι : ปรากฏในมหากาพย์ 29 ครั้ง) มีตัวละครหลักดังนี้
· อคิลลีส ชาวเมอร์มิดอน บุตรนางอัปสรธีทิส เมื่อเด็กได้จุ่มร่างในแม่น้ำสติกส์อันศักดิ์สิทธิ์ ทำให้กายเป็นอมตะไม่ระคายคมดาบ เว้นแต่ที่ข้อเท้าซึ่งมารดากุมไว้ขณะจุ่มร่าง
· อักกะเมมนอน เจ้าเมืองไมซินีและอาร์กอส พี่ชายของเมนนิเลอัส เป็นแม่ทัพหลวงในการยกทัพไปตีเมืองทรอย
· เมนนิเลอัส เจ้าเมืองสปาร์ตา เป็นสามีของนางเฮเลน
· อจักส์ ผู้ทรงพลัง
· ไดโอมิดีส
· โอดิซูส หรือ ยูลิซีส ผู้เฉลียวฉลาด
· ปโตรกลัส ญาติและสหายสนิทของอคิลลีส
· ฟิลอกทีทีส ผู้ครองคันธนูพร้อมลูกอาบเลือดไฮดราของเฮอร์คิวลีส
· ฟีนิกซ์

ฝ่ายทรอย

· ท้าวเพรียม เจ้าเมืองทรอย บิดาของเฮกเตอร์และปารีส
· เฮกเตอร์ เจ้าชายเมืองทรอย
· ปารีส เจ้าชายเมืองทรอย ผู้ชิงตัวนางเฮเลนมาจากเมืองสปาร์ตา เป็นเหตุให้เกิดสงคราม
· อีเนียส บุตรของเทพีวีนัส (หรืออโฟรไดท์) นักรบเมืองทรอย
· นางเฮเลน เดิมเป็นภริยาของกษัตริย์เมนนิเลอัส ถูกเจ้าชายปารีสชิงตัวมาเมืองทรอย เป็นชนวนให้เกิดสงครามเมืองทรอย
· นางเฮกคิวบา ชายาของท้าวเพรียม มารดาของเฮกเตอร์และปารีส
· นางอันโดรมาคี ภริยาของเฮกเตอร์
· นางไบรเซอีส ชาวเมืองทรอย ถูกจับตัวไปเป็นเชลยแก่อคิลลีส แต่นางหลงรักอคิลลีส ภายหลังถูกอักกะเมมนอนชิงตัวไป ทำให้อคิลลีสโกรธและไม่เข้าช่วยในการรบ
· นางไครเซอีส บุตรีของไครสีส เจ้าพิธีศาลเทพอพอลโล ถูกพวกกรีกชิงตัวไปให้อักกะเมมนอน ทำให้ไครสีสทำบูชาเทพอพอลโลให้ลงมาสั่งสอนฝ่ายกรีก เป็นเหตุการณ์ที่เทพเข้ามาร่วมในการสงครามเป็นครั้งแรก





เรื่องราวในอิเลียด

มหากาพย์ อีเลียด เริ่มต้นด้วยประโยคต่อไปนี้   “ ร้องเพลงเถิดเทพี โทสะแห่งอคิลลีส บุตรแห่งพีลูสโทสะทำลายล้างอันนำความเจ็บปวดมหาศาลสู่ชาวเอเคียน

คำเปิดเรื่อง อีเลียด ของโฮเมอร์ คือ μῆνιν (mēnin) ซึ่งเป็นภาษากรีกโบราณ หมายถึง "โทสะ" เป็นการประกาศถึงธีมหลักของเรื่อง อีเลียด นั่นคือ "โทสะของอคิลลีส" เมื่ออักกะเมมนอน ผู้นำกองทัพกรีกบุกเมืองทรอย ได้หมิ่นเกียรติของอคิลลีสโดยการชิงตัวนางไบรเซอีส ทาสสาวนางหนึ่งซึ่งตกเป็นของขวัญชนะศึกของอคิลลีสไปเสีย อคิลลีสจึงถอนตัวจากการรบ แต่เมื่อปราศจากอคิลลีสกับทัพของเขา กองทัพกรีกก็ต้องพ่ายต่อเมืองทรอยอย่างย่อยยับ จนเกือบจะถอดใจยกทัพกลับ แต่แล้วอคิลลีสกลับเข้าร่วมในการรบอีก หลังจากเพื่อนสนิทของเขาคือ ปโตรกลัส ถูกสังหารโดยเฮกเตอร์เจ้าชายเมืองทรอย อคิลลีสสังหารชาวทรอยไปเป็นจำนวนมากรวมทั้งเฮกเตอร์ แล้วลากศพเฮกเตอร์ประจาน ไม่ยอมคืนร่างผู้เสียชีวิตให้มาตุภูมิซึ่งผิดธรรมเนียมการรบ จนในที่สุดท้าวเพรียม บิดาของเฮกเตอร์ ต้องมาไถ่ร่างบุตรชายกลับคืน มหากาพย์ อีเลียด สิ้นสุดลงที่งานพิธีศพของเฮกเตอร์
โฮเมอร์บรรยายภาพการศึกไว้ในมหากาพย์อย่างละเอียด เขาระบุชื่อนักรบจำนวนมาก เอ่ยถึงถ้อยคำที่ด่าทอ นับจำนวนครั้งที่เปล่งเสียงร้อง รวมถึงรายละเอียดในการปลิดชีวิตฝ่ายศัตรู การสิ้นชีวิตของวีรบุรุษแต่ละคนส่งผลให้การสงครามรุนแรงหนักยิ่งขึ้น ทัพทั้งสองฝ่ายต่างเข้าแย่งชิงเสื้อเกราะเครื่องอาวุธ และแก้แค้นต่อผู้ที่สังหารคนของตน นักรบที่โชคดีมักรอดพ้นไปได้ด้วยฝีมือขับรถของสารถี หรือด้วยการช่วยเหลือป้องกันของเหล่าเทพ รายละเอียดสงครามของโฮเมอร์นับเป็นงานวรรณกรรมที่โหดเหี้ยมและมีผู้เสียชีวิตมากที่สุด
มหากาพย์ อีเลียด มีนัยยะทางศาสนาและสิ่งเหนือธรรมชาติอยู่มาก กองทัพทั้งสองฝ่ายต่างเคร่งครัดศรัทธาต่อเทพเจ้าของตน และต่างมีนักรบที่สืบเชื้อสายมาจากเหล่าเทพด้วย พวกเขามักเซ่นสรวงบูชาเทพเจ้า ขอคำปรึกษาจากพระ และแสวงหาคำพยากรณ์เพื่อตัดสินใจว่าควรจะทำอย่างไรต่อไป พวกเทพเจ้ามักเข้าร่วมในการรบ ทั้งโดยการให้คำแนะนำและช่วยเหลือปกป้องนักรบคนโปรด บางคราวก็ร่วมรบด้วยตนเองกับพวกมนุษย์หรือกับเทพเจ้าองค์อื่นๆ
ตัวละครหลักของมหากาพย์ อีเลียด จำนวนมากมีส่วนเชื่อมโยงสงครามเมืองทรอยเข้ากับตำนานปรัมปราอื่นๆ เช่น ตำนานเจสันกับขนแกะทองคำ ตำนานกบฏเมืองธีบส์ และการผจญภัยของเฮราคลีส (เฮอร์คิวลีส) ตำนานปรัมปราของกรีกโบราณเหล่านี้มีเรื่องเล่ามาในหลากหลายรูปแบบ โฮเมอร์จึงค่อนข้างมีอิสระในการเลือกเอารูปแบบตามที่เขาต้องการเพื่อนำมาประกอบในมหากาพย์ รายละเอียดเพิ่มเติมโปรดดูใน ตำนานกรีกโบราณ
เรื่องราวในมหากาพย์ อีเลียด ครอบคลุมช่วงเวลาเพียงไม่กี่สัปดาห์ในช่วงปีที่สิบและปีสุดท้ายของสงครามเมืองทรอย มิได้เล่าถึงความเป็นมาของการศึกและเหตุการณ์ในช่วงต้น (คือเรื่องที่ปารีสลักพานางเฮเลนมาจากกษัตริย์เมนนิเลอัส) และมิได้เอ่ยถึงเหตุการณ์ตอนสิ้นสุดสงคราม (คือการตายของอคิลลีส และการล่มสลายของเมืองทรอย) อย่างไรก็ดีมีบทกวีมหากาพย์เรื่องอื่นที่บรรยายความต่อจากนี้ แต่หลงเหลือรอดมาถึงปัจจุบันเพียงเล็กน้อย มีเนื้อความกระจัดกระจายเป็นส่วนๆ ไม่ต่อเนื่อง รายละเอียดของสงครามทั้งหมด โปรดดูจากบทความเรื่อง สงครามเมืองทรอย





โครงเรื่อง

บทกวีเริ่มต้นขึ้นเมื่อชาวกรีกได้จับตัวนางไครเซอีส บุตรีของไครสิสเจ้าพิธีของอพอลโลมาแล้ว และมอบนางให้เป็นรางวัลแก่อักกะเมมนอน เทพอพอลโลจึงบันดาลให้เกิดโรคระบาดในกองทัพกรีก เพื่อบีบบังคับให้อักกะเมมนอนคืนตัวนางไครเซอีสให้แก่บิดา อักกะเมมนอนจึงไปบังคับเอาตัวนางไบรเซอีสมาแทน นางไบรเซอีสเป็นทาสชาวเอเคียนที่มอบให้เป็นรางวัลแก่อคิลลีส นักรบผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งยุค ดังนั้นอคิลลีสจึงถอนตัวออกจากการรบ
ฝ่ายเมืองทรอยนั้นมีเจ้าชายเฮกเตอร์ โอรสของท้าวเพรียม เป็นแม่ทัพนำศึกป้องกันเมืองและปกป้องครอบครัวของตน เมื่ออคิลลีสไม่ยอมร่วมรบด้วย เฮกเตอร์จึงสามารถมีชัยชนะเหนือกองทัพกรีก นักรบกรีกที่เหลืออยู่ รวมถึงโอดิซูสและดิโอมีดีส ต่างได้รับบาดเจ็บ ด้วยเวลานั้นปวงเทพต่างเข้าข้างฝ่ายเมืองทรอย ปโตรกลัสจึงปลอมตัวเป็นอคิลลีสโดยนำเสื้อเกราะของเขามาสวม และนำทัพชาวเมอร์มิดอนกลับเข้าร่วมรบเพื่อช่วยป้องกันเรือของพวกกรีกไม่ให้ถูกเผาทำลาย ปโตรกลัสถูกเฮกเตอร์สังหารสิ้นชีพ อคิลลีสจึงกลับเข้าร่วมรบเพื่อแก้แค้นให้ปโตรกลัส เขาสังหารเฮกเตอร์ได้สำเร็จด้วยการประลองตัวต่อตัว แล้วเอาร่างของเฮกเตอร์กลับไปค่ายด้วย ท้าวเพรียมลอบเข้าค่ายทัพกรีก (ด้วยความช่วยเหลือของเทพเฮอร์มีส) เพื่อไถ่ร่างของบุตรชายคืน อคิลลีสเกิดความสงสารจึงคืนให้ บทกวีจบลงที่การพิธีศพของเฮกเตอร์





รายละเอียดเล่ม

เล่ม 1 : สงครามผ่านไปเก้าปี อักกะเมมนอนจับตัวนางไบรเซอีสมาใช้แทนนางไครเซอีส อคิลลีสถอนตัวจากกองทัพด้วยความโกรธ บนเทือกเขาโอลิมปัส เหล่าเทพถกเถียงกันเรื่องผลของสงคราม
เล่ม 2 : อักกะเมมนอนแสร้งสั่งให้ถอยทัพเพื่อลองใจ โอดิซูสปลุกระดมทัพกรีกให้เข้าสู้ รายละเอียดกองเรือ รายละเอียดเมืองทรอยและทัพพันธมิตร
เล่ม 3 : ปารีสท้าเมนนิเลอัสประลองตัวต่อตัว โดยนางเฮเลนเฝ้าดูบนกำแพงเมืองทรอยข้างท้าวเพรียม ปารีสเอาชนะเมนนิเลอัสได้อย่างรวดเร็ว แต่เทพีอโฟรไดท์มาช่วยเขาไว้ ทำให้ดูเหมือนเมนนิเลอัสเป็นฝ่ายชนะ
เล่ม 4 : ยกเลิกการพักรบ เริ่มประจัญบาน
เล่ม 5 : ดิโอมีดีสมีชัยในการรบ อโฟรไดท์กับเอรีสได้รับบาดเจ็บ
เล่ม 6 : เกลาคัสกับดิโอมีดีสแสดงความยินดีต่อกันระหว่างพักรบ เฮกเตอร์กลับเข้าเมืองทรอยและเจรจากับภริยาของตน
เล่ม 7 : เฮกเตอร์สู้กับอจักส์
เล่ม 8 : เทพเจ้าถอนตัวจากการรบ
เล่ม 9 : ทัพกรีกส่งผู้แทนไปเจรจากับอคิลลีส แต่ถูกปฏิเสธอย่างไร้เยื่อใย
เล่ม 10 : ดิโอมีดีสและโอดิซูสลอบสืบข้อมูลในเมืองทรอย และสังหารโดลอนชาวทรอยผู้ทรยศ
เล่ม 11 : ปารีสทำร้ายดิโอมีดีสบาดเจ็บ อคิลลีสส่งปโตรกลัสเข้าร่วมรบ
เล่ม 12 : ทัพกรีกถอยกลับเข้าค่าย ถูกทัพเมืองทรอยปิดล้อม
เล่ม 13 : เทพโพไซดอนให้กำลังใจทัพกรีก
เล่ม 14 : เทพีเฮราช่วยโพไซดอนให้ช่วยทัพกรีก เทพซูสมาห้ามไว้
เล่ม 15 : เทพซูสห้ามโพไซดอนไม่ให้เข้ายุ่งเกี่ยวการรบ
เล่ม 16 : ปโตรกลัสสวมเกราะของอคิลลีสเข้าร่วมรบ สังหารซาร์เพดอน และต่อมาถูกเฮกเตอร์สังหาร
เล่ม 17 : สองทัพรบกันเพื่อชิงเสื้อเกราะและร่างของปโตรกลัส
เล่ม 18 : อคิลลีสทราบข่าวการตายของปโตรกลัส ได้รับเสื้อเกราะใหม่ มีบทบรรยายเสื้อเกราะนี้อย่างละเอียด
เล่ม 19 : อคิลลีสคืนดีกับอักกะเมมนอน และกลับเข้าร่วมรบ
เล่ม 20 : เทพเจ้ากลับเข้าร่วมในการรบอีก อคิลลีสพยายามสังหารอีเนียส
เล่ม 21 : อคิลลีสรบกับทัพสกาแมนเดอร์จำนวนมาก ประจันหน้ากับเฮกเตอร์ที่หน้าประตูเมืองทรอย
เล่ม 22 : อคิลลีสสังหารเฮกเตอร์และลากร่างของเขากลับไปค่ายทัพกรีก
เล่ม 23 : งานศพของปโตรกลัส
เล่ม 24 : ท้าวเพรียม กษัตริย์เมืองทรอย ลอบเข้าค่ายทัพกรีก ขอร้องอคิลลีสให้คืนร่างของเฮกเตอร์ อคิลลีสยอมตาม ร่างของเฮกเตอร์จึงได้นำกลับไปทำพิธีศพบนกองฟืน


เทพเจ้าที่เกี่ยวข้องในอีเลียด





เทพโพเซดอน



เทพีอธีน่า




เทพซูส



เทพีเฮรา



เทพีอโฟรไดท์



เทพอพอลโล่




เทพีอาร์ทีมิส



เทพเอเรียส



หวังว่าจะมีประโยชน์ไม่มากก็น้อย ขอบคุณครับ~~~ ^^


Credit 

   



*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*



รายนามผู้จัดทำ

นายสหภาพ สุระประเสริฐ เลขที่ 5

นายธีรศิลป์ แววรวีวงศ์ เลขที่ 23

นายธัชชาญ ชีพสุมนต์ เลขที่ 24

นายสมประสงค์ อิ่มพรรณไชย เลขที่ 28

ม.6/15























































ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น